นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะหลายรายขอปรับขึ้นค่าโดยสาร เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอยู่ที่31.94บาทต่อลิตรตั้งแต่วันที่1พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเดินรถ และแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งในวันที่12พ.ค.65สมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย และผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นรถร่วมบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.)ที่ยังมีรถโดยสารที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการเดินทางจะมาเข้าพบ เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่างๆ

นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้น ขบ.จะหารือกับผู้ประกอบการรถโดยสารก่อน เพื่อหาแนวทางลดค่าใช้จ่าย และต้นทุนในการเดินรถ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ และบรรเทาความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้น รวมทั้งการขอปรับขึ้นค่าโดยสาร เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ขบ.จะเสนอคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางภายในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อให้พิจารณามาตรการให้การเยียวยาผู้ประกอบการต่อไป สำหรับรถโดยสารที่ให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือที่เป็นรถร่วมองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นั้น จากการตรวจสอบพบว่า ปัจจุบันมีเพียงแค่รถเมล์ ขสมกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. บางส่วนที่ยังใช้น้ำมันดีเซลอยู่ส่วนรถเมล์ร่วม ขสมก. หากเป็นรถเก่าได้ปรับไปใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) ขณะที่รถเมล์ใหม่เปลี่ยนมาใช้รถเมล์ไฟฟ้าให้บริการแทนแล้ว

ด้านนายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวว่า วันที่12พ.ค.นี้ กระทรวงคมนาคม จะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เช่น บขส.ขสมก.และการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เพื่อหามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการต่อไป ทั้งนี้ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อ บขส.รัฐบาลควรเข้ามาช่วยเหลือดูแล และสนับสนุน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการรถโดยสารในช่วงที่ปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัว ตามความเหมาะสมที่จะกระทำได้ เช่น บัตรคูปองส่วนลดราคาน้ำมันดีเซล และเงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ(Public Service Obligation: PSO)เพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไป และตรึงราคาค่าโดยสารได้ มิฉะนั้นจะทำให้ผู้ประกอบการรถโดยสารเจ๊งทั้งระบบ

ขณะที่ นายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า ขสมก. ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน ขสมก. มีรถรถเมล์ให้บริการ 2,885 คัน แบ่งเป็น รถเมล์ที่ใช้น้ำมันดีเซล ประมาณ 2,000 คัน ส่วนที่เหลืออีก 885 คัน ใช้เอ็นจีวี นอกจากนี้ ขสมก. พบว่า มีค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล 1,600 ล้านบาทต่อปี ขณะที่จำนวนประชาชนที่ใช้บริการวันธรรมดา 5-6 แสนคนต่อวัน ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 3-4 แสนคนต่อวัน อย่างไรก็ตามแม้ราคาน้ำมันดีเซลจะสูงขึ้น แต่ ขสมก. ยังจัดรถเมล์ให้บริการประชาชนอย่างเต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิม ขณะเดียวกันยังอยู่ระหว่างจัดหารถเมล์อีวี 400 คัน ที่ใช้พลังงานสะอาดในการขับเคลื่อน อนาคตช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องเชื้อเพลิงได้

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพิจารณาปรับขึ้นราคาค่าโดยสารเรือทุกชนิด ทั้งเรือด่วนเจ้าพระยา เรือโดยสารในคลองแสนแสบ และเรือข้ามฝากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการเรือโดยสาร ได้ขอปรับขึ้นค่าโดยสารมายังกรมเจ้าท่าหลายครั้ง เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นต้นทุนหลักปรับตัวสูงขึ้น แต่ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม ขอให้ผู้ประกอบการตรึงราคาไปก่อน และได้รับความร่วมมืออย่างดี แต่เมื่อล่าสุดราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอีก กระทรวงคมนาคมจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง ยืนยันว่าจะพิจารณาโดยให้อยู่ได้ทั้งประชาชนผู้ใช้บริการ และผู้ประกอบการ โดยในส่วนของเรือด่วนเจ้าพระยาได้เสนอปรับขึ้นค่าโดยสารเรือ1บาทต่อคนต่อเที่ยว

ด้านนายเชาวลิต เมธยะประภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทครอบครัวขนส่ง(2002)จำกัด ผู้ให้บริการเดินเรือโดยสารคลองแสนแสบ เส้นทางวัดศรีบุญเรือง-สะพานผ่านฟ้าลีลาศ กล่าวว่า บริษัทฯ และกรมเจ้าท่า ได้เสนอขอปรับขึ้นค่าโดยสารให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่31.94บาทอต่อลิตรตั้งแต่วันที่1พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนในการเดินเรือเพิ่มขึ้น โดยได้ขอปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันได เริ่มที่1บาทก่อน ทั้งนี้ปัจจุบันบริษัทฯ เก็บค่าโดยสารอยู่ที่ราคา9-19บาทตามระยะ ขอปรับขึ้นเป็น10-20บาทตามระยะ และหากราคาดีเซลปรับเพิ่มขึ้นอีก บริษัทฯ จะปรับขึ้นอีก1บาท เป็น11-21บาทตามระยะ ส่วนการปรับขึ้นค่าโดยสารจะได้ปรับขึ้นกี่บาท และเริ่มปรับขึ้นตั้งแต่วันที่เท่าใด ขึ้นอยู่กับกระทรวงคมนาคมเป็นผู้พิจารณา คาดว่าภายในสัปดาห์นี้กระทรวงคมนาคมจะได้ข้อสรุป ซึ่งจะรีบประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารทราบทันที

ขณะที่ นายเฉลิม ชั่งทองมะดัน นายกสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย (สจท.) กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินโครงการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ (จยย.) สาธารณะรับจ้าง ที่มีใบอนุญาตขับรถ จยย.สาธารณะจาก ขบ. 106,655 คน โดยได้รับสิทธิช่วยเหลือค่าน้ำมันไม่เกิน 50 บาทต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 250 บาทต่อคนต่อเดือน รวม 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.-ก.ค.65 นั้น เป็นสิ่งที่ดี ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงน้ำมันแพง แต่ถือว่ายังน้อย และไม่สอดคล้องกับต้นทุนในการเดินรถ อีกทั้งมีผู้ขับขี่ จยย. หลายรายไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เพราะบางส่วนไม่ทราบว่ามีโครงการนี้ และมีการดำเนินการที่ยุ่งยาก ต้องใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น ซึ่งผู้ขับขี่ จยย.หลายคนมีอายุมากแล้ว จึงไม่สะดวก

นายเฉลิม กล่าวต่อว่า ขณะนี้ผู้ขับขี่รถ จยย.มีค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันเบนซินเฉลี่ยที่ 150-170 บาทต่อคันต่อวัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเที่ยววิ่งให้บริการ หากให้บริการจำนวนมาก รถจะสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อเทียบกับช่วงที่ยังไม่ปรับขึ้นราคาเบนซินช่วงเดือน เม.ย.65 มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 100-120 บาทต่อคันต่อวัน ดังนั้นการที่รัฐช่วยเหลือ 250 บาทต่อคนต่อเดือน ถือว่าได้รับการช่วยเหลือค่าน้ำมันประมาณ 8 บาทต่อคนต่อวันเท่านั้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯ 50 เขต มีผู้ขับขี่รถ จยย.ประมาณ 9 หมื่นกว่าคันจากจำนวนรถ จยย.ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 1.3 แสนกว่าคัน มีรายได้ประมาณ 300-400 บาทต่อคันต่อวัน ขณะที่ก่อนเกิดโควิด-19 มีรายได้อยู่ที่ 700-800 บาทต่อคันต่อวันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

By admin